กยศ บังคับ ภาคเอกชน ให้หักเงิน พนักงาน ส่งกยศ หากไม่ทำตาม มีโทษ ปรับ

กยศ บังคับ ภาคเอกชน ให้หักเงิน พนักงาน ส่งกยศ หากไม่ทำตาม มีโทษ ปรับ   คอลัมน์ ลมเปลี่ยนทิศ ใน หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ตั้งคำถามถึงรัฐบาล เรื่อง การ เรียกเก็บหนี้ กยศ และนำส่ง  

หน้าที่การหัก และ การนำส่งเงิน ผู้กู้ยืม เงิน เพื่อชำระหนี้ กู้ยืม คืนกองเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา จากพนักงานที่เป็น ลูกหนี้ กยศ.  ทั้งประเทศหลายล้าน คน ทั้งที่ ภาคเอกชน ไม่ได้เกี่ยวข้อง  กยศ ปล่อยกู้เอง รับ ดอกเบี้ยเอง เก็บหนี้ไม่ได้ กลับใช้ กฎหมาย ยุค คสช. บังคับเอกชน เก็บหนี้ให้ กยศ.  และต้องนำส่งให้ด้วย หากไม่หักเงินเดือน นำส่ง บริษัทเอกชน นั้นๆ ต้องรับผิดชอบ ชดใช้เงิน เพิ่มในอัตราร้อยละ 2% ต่อเดือน   ทำไมเอกชน ต้องมารับผิดชอบหนี้ กยศ. ของรัฐบาล

เป็น คำถาม ที่ดีมาก ถ้าใคร เป็น ผู้ประกอบการ หรือ กำลังทำงาน ฝ่ายบุคคล จะได้รับ จดหมาย แจ้งเตือน จาก กยศ ถึง เรื่องการ ต้อง มีภาระหน้าที่ในการ หักหนี้ และ นำส่ง หากไม่ปฏิบัติ ตามจะมีโทษ ตามกฎหมาย (เผด็จการ) 


ตัวอย่างจดหมาย จาก กยศ ส่งไปยัง ภาคเอกชน

สำหรับการหักเงินเดือนตาม พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ให้บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว เพื่อชำระเงิน กู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ โดยให้นำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ซึ่งกองทุนได้ตรวจสอบสถานะผู้กู้ยืมเงิน ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานท่านแล้ว ปรากฏว่ามีบุคคลที่เป็นผู้กู้ยืมเงินกองทุน ซึ่งท่านต้องหักและนำส่งเงินให้กับกองทุนผ่านกรมสรรพากร กองทุนจึงขอความอนุเคราะห์ให้ท่านดำเนินการดังนี้

 

1.ทำการหักเงินเดือนของบุคลากรตามรายชื่อและจำนวนเงินที่กองทุนแจ้งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยกองทุนจะส่งรายชื่อและจำนวนเงินที่ให้หักเงินเดือนผ่านระบบรับชำระเงินให้กู้ยืม คือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร ในวันที่ 5 ของทุกๆเดือน

2.การนำส่งเงินเดือนของบุคลากร ที่ทำการหักไว้เพื่อชำระเงิน กู้ยืมคืนกองทุน ภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

กองทุนได้จัดส่งรายชื่อผู้กู้ยืมเงิน รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 พร้อมหลักฐานวิธีการและเงื่อนไขในการดำเนินการ รวมถึงคู่มือการใช้งานระบบชำระเงินกู้ยืมคืน (e–PaySLF) รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 เพื่อให้ท่านเตรียมความพร้อมก่อนถึงกำหนดระยะเวลาที่ต้องหักเงินเดือน หากท่านมีเหตุขัดข้องประการใด ขอให้แจ้งเหตุให้กองทุนทราบโดยเร็ว

ทั้งนี้ หากหน่วยงานไม่ดำเนินการหักเงินได้พึงประเมิน หักและไม่ได้นำส่งหรือนำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือหักและนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาที่กองทุนแจ้งให้ทราบ หน่วยงานต้องรับผิดชดใช้เงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือน ตามมาตรา 51 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560”


 

หลังจากได้อ่าน จดหมายฉบับนี้ แล้ว ก็ต้องอึ้งไปเหมือน คุณ ลมเปลียนทิศ ผม เองก็ทำงานอยู่ใน บริษัทเอกชน ฝ่ายบุคคล นำจดหมาย ฉบับบนี้ มาปรึกษา

แวบแรก ก็คิดนะ ว่า ทำแบบนี้แล้ว เด็กๆ ที่โดนหักเงิน เงินจะเหลือพอกินพอใช้กันไหม   แล้ว ถ้าบริษัท ไม่หัก บริษัท มีความผิด ต้องโดนโทษปรับ  ประหนึ่งว่า ลูกหนี้ กยศ เหล่านี้ ถูกฟ้องร้อง จนโดนบังคับ คดี กันแล้ว... เหรอ ถึงได้ มาสั่งให้บริษัท หักหนี้ ให้...

คำถาม เช่นเดียวกัน  ว่า แล้ว บริษัท เอกชนไปเกี่ยวอะไรด้วย ทำไมต้องมาแบกรับ ปัญหา ของความไร้ความสามารถ ของภาครัฐ ในการติดตามทวงหนี้

ลักษณะ แบบนี้ เหมือนเป็นการ ประจานลูกหนี้ ไหม..  พวกเจ้าหนี้ มีสิทธิ์ ทวงหนี้ โดยส่งจดหมาย มาทวง กับ บริษัท หรือ กับคนอื่นได้เหรอ ไม่ผิด เหรอ... เดี่ยวอีกหน่อย บรรดา ธนาคาร ต่างๆ ทำตามๆกัน พนักงานบริษัท เอกชน ที่เป็นลูกหนี้ บัตรเครดิต และจ่ายไม่ไหว จะเป็นอย่างไรกันต่อไปนะ

ทำไม กยศ ไม่ไล่ฟ้อง ดำเนินคดี ให้ถึงที่สุด เหมือนการ ทวงหนี้ ปกติของภาคเอกชน  ทั่วๆไป  ทำไม กยศ ต้อง โยนขึ้ โยนภาระ และ ยังแถม มีคำข่มขู่  ว่ามีบทลงโทษหากไม่ทำตาม  มันดูน่าเกลียดอย่างมากเลย

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา