สรรพากรขยายเวลามาตรการภาษี และรองรับการย้ายฐานการผลิตของทุนต่างชาติ

สรรพากรขยายเวลามาตรการภาษี และรองรับการย้ายฐานการผลิตของทุนต่างชาติ

สรรพากรขยายเวลามาตรการภาษี และรองรับการย้ายฐานการผลิตของทุนต่างชาติ
.
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package) ออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

 

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรและการจ้างงานที่มีศักยภาพสูงเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
.
กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพและการเตรียมกำลังคนสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายหลังจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่. ...) พ.ศ. .... (ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
.

1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0

 

กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบได้ 3 เท่า และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคทรัพย์สิน โดยต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
.

2.  มาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)

 

โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สำหรับรายจ่ายดังต่อไปนี้

 

2.1 รายจ่ายสำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติหักได้ 2 เท่า
2.2 รายจ่ายสำหรับการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูงหักได้ 1.5 เท่า
2.3 รายจ่ายสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูงหักได้ 2.5 เท่า
.

 

นายเอกนิติ กล่าวว่า การขยายระยะเวลามาตรการภาษีในครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีทักษะสูงพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ในระบบอัตโนมัติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูง และเมื่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

 

Credit สำนักข่าวไทย

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา