ป่วยโควิด เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม มาตรา 40 สูงสุด 300 บาท/วัน

ป่วยโควิด เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม มาตรา 40 สูงสุด 300 บาท/วัน

สำหรับผู้ที่ ทำประกันสังคม ในแต่ละมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 40 หากป่วยโควิด หรือโรคอื่นใด ที่ต้องนอนพักรักษาตัว ในโรงพยาบาล หรือที่บ้าน  ตามคำสั่งแพทย์ สามารถเบิกชดเชยการขาดรายได้ จากประกันสังคม ได้สูงสุด 300 บาท/วัน โดยมีเงือนไขดังนี้

 หากผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม มี่การเจ็บป่วย และ ขาดรายได้ สามารถ เบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้ โดยเฉพาะผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 40 ที่เป็นอาชีพ อิสระ ทำงานรายวัน จะสามารถเบิกค่าชดเชยได้สูงสุด วันละ 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี สำหรับผู้ที่ ส่งเงินสมทบ 70 บาท หรือ 150 บาท ต่อเดือน แต่ สำหรับผู้ที่ส่ง เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 สูงถึง 300 บาท (รัฐบาล จะช่วยออกเงินสมทบให้อีก 150 บาท รวมเป็น 450 บาท/เดือนนั้น ) จะสามารถเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ ได้สูงสุดถึง 90 วัน/ปี

การเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ แยกตามประเภทผู้ประกันตน

 

กรณี เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 33

กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ส่วนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน คือตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป จึงสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนฯ จากประกันสังคมได้

มีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงาน ใน 1 ปีปฏิทิน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างจริง โดยคิดจากฐานไม่เกิน 15,000 บาท ตามกฎหมายประกันสังคม เท่ากับว่าจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดวันละ 250 บาท (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน)

 

กรณี เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 39


ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท เท่ากับจะได้วันละ 80 บาท (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน)
แต่ถ้าผู้ประกันตน มาตรา 39 ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ จะไม่สามารถเบิกสิทธิ์เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้


กรณี เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม  มาตรา 40

ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะมีการ จ่ายชำระรายเดือนไม่เท่ากัน ดังนั้นแล้ว หากคุณ จ่ายเงินสมทบ เท่าไร จะเงินชดเชยการขาดรายได้ 

 

สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 จะไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาล ดังนั้นเมื่อป่วยโควิด 19 ต้องใช้สิทธิบัตรทอง จาก สปสช. แต่กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย มีสิทธิ์รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้

 

มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 (จ่าย 70 บาท/เดือน) และทางเลือกที่ 2 (จ่าย 100 บาท/เดือน)


- กรณีเป็นผู้ป่วยใน นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้วันละ 300 บาท

- กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้ วันละ 200 บาท

- กรณีพักรักษาตัว ไม่ถึง 3 วัน ได้เงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 50 บาท/วัน

 

โดยทั้ง 3 กรณีข้างต้นรวมกันจะจ่ายเงินทดแทนให้ไม่เกิน 30 วัน/ปี

มาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 (จ่าย 150 บาท/เดือน)

- กรณีเป็นผู้ป่วยใน นอนโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้ วันละ 300 บาท

- กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้วันละ 200 บาท

- กรณีพักรักษาตัว ไม่ถึง 3 วัน ได้เงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 50 บาท/วัน

โดยทั้ง 3 กรณีข้างต้นรวมกันจะจ่ายเงินทดแทนให้ไม่เกิน 30 วัน/ปี

 

มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 (จ่าย 300 บาท/เดือน)

- กรณีเป็นผู้ป่วยใน นอนโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้ วันละ 300 บาท

- กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ได้วันละ 200 บาท

- กรณีพักรักษาตัว ไม่ถึง 3 วัน ได้เงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 50 บาท/วัน

โดยทั้ง 3 กรณีข้างต้นรวมกันจะจ่ายเงินทดแทนให้ไม่เกิน 90 วัน/ปี

 


 ขอรับเงินทดแทนประกันสังคมได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

 เมื่อรักษาตัวจนหายป่วยดีแล้วสามารถติดต่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ทั่วประเทศ โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01 (คลิกดาวน์โหลด
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รักษา หรือบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาล 
  4. สำเนาเวชระเบียนที่ได้จากการบันทึกหน้าจอแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยต้องระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการให้หยุดพักรักษาตัวต่อเพื่อใช้ประกอบการเบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม
  5. หนังสือรับรองการใช้สิทธิ์ลาป่วยจากนายจ้าง (สำหรับผู้ประกันตนที่มีนายจ้าง)
  6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าแผงขายของ, ใบสั่งสินค้า, ใบรับสินค้า ฯลฯ (สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อแสดงว่ามีรายได้จากการประกอบอาชีพ)
  7. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)
  8. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของธนาคารใดธนาคารหนึ่งต่อไปนี้ 
    - ธนาคารกรุงไทย
    - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
    - ธนาคารกรุงเทพ
    - ธนาคารไทยพาณิชย์
    - ธนาคารกสิกรไทย
    - ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต
    - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
    - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

 

ทั้งนี้เราสามารถยื่น เบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ ภายใน 2 ปี ดังนั้นผู้ประกันตน คนไหนที่หายป่วยแล้ว และเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด ก็สามารถใช้สิทธิ์ของตัวเองได้เลย หรือหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนสำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ จ่ายน้อยประโยชน์ เพียบ  สำหรับพ่อค้าแม่ค้า ทำติดเอาไว้ นอกจากผลประโยชน์ ในด้านเงินชดเชยแล้วยังมี ผลประโยชน์่อื่นๆ อีก เช่น เงินค่าทำศพ เงินชดเชย ทุพพลภาพ เงินสงเคราะห์บุตร และ เงินบำนาญ เป็นต้น 

วิธีสมัคร ประกันสังคม เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

ลดเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40 อาชีพอิสระ เป็นเวลา 6 เดือน

สิทธิ์ประโยชน์ ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา 33 39 40

เพิ่มผลประโยชน์ เงินทดแทน ประกันสังคม มาตรา 40

 

 

ซื้อ ประกันโควิด ออนไลน์ กันยายน 2564

 

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา