สิทธิ์ประโยชน์ ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา 33 39 40

ประกันสังคม เป็นกองทุนประกันสังคม ที่กำหนดโดยรัฐบาล บังคับให้นาย จ้าง และ ลูกจ้าง ต้องส่งเงินสมทบ เพื่อ ผลประโยชน์ของลูกจ้า ที่จะได้รับ หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ประเภท ของ ผู้ประกันตน ประกันสังคมแต่ละมาตรา
-มาตรา 33 สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป
-มาตรา 39 สำหรับพนักงานที่ลาออกจากงานประจำ
-มาตรา 40 ฟรีแลนซ์หรือค้าขาย
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ
ลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ลูกจ้าง หรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปนั่นเอง ตรงนี้ถือเป็นผู้ประกันตนภาคบังคับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่นายจ้างต้องขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้าง โดยลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
ผู้มีสิทธิ เข้าเงื่อนไข ตามมาตา 33
- ลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ในวันเข้าทำงาน
- สัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าวก็สามารถขึ่นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 ได้
- กรณีเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงาน มีบัตรประจำตัวที่กรมการปกครองออกให้ หรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
เงินสมทบ 5% ของอัตราเงินเดือน แต่ไม่เกิน 750 บาท/เดือน ซึ่ง ยึดเงินเดิน สูงสุด 15,000 บาท/เดือน
ผลประโยชน์ ความคุ้มครองที่ได้รับ
-
ค่ารักษาพยาบาล จากความเจ็บป่วย
-
ค่าชดเชย ทุพพลภาพ
-
ค่าชดเชย การเสียชีวิต
-
เงินคลอดบุตร
-
เงิน สงเคราะห์บุตร
-
เงิน ชราภาพ
-
เงิน ช่วยเหลือ ว่างงาน
ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร
ประกันสังคม มาตรา 39 หมายถึง บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนและมีประกันสังคม มาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม จึงสมัครใช้สิทธิประกันสังคม มาตรา 39 ทั้งนี้ผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 39 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
- ออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
- ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
- โดยผู้ประกันตน มาตรา 33 ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาทต่อเดือน
วิธี สมัคร ประกันสังคม มาตรา 39 ออนไลน์
ผลประโยชน์ ความคุ้มครองที่ได้รับ
- ค่ารักษาพยาบาล จากความเจ็บป่วย
- ค่าชดเชย ทุพพลภาพ
- ค่าชดเชย การเสียชีวิต
- เงินคลอดบุตร
- เงิน สงเคราะห์บุตร
- เงิน ชราภาพ
ผู้ประกันตนมาตาร 39 จะได้รับสิทธิ เหมือน ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 แต่ ยกเว้น เงิน ช่วยเหลือ กรณี การว่างงาน
เงินสมทบ มาตรา 39 432 บาท/เดือน
ผู้ประกันตม ตามมาตรา 40
สิทธ์ประโยชน์ ของ ผู้ประกันตน หรือ ผู้ประกันสังคม ตามมาตรา 40
- การรักษาพยาบาล ใช้สิทธิ์ บัตรทอง (หรือบัตรประกันสุขภาพ
- กรณีเกิดอุบัติเหตุ มีเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน / ปี
- กรณี ทุพพลภาพ (แพทย์ ลงความเห็นว่า ทุพพลภาพ) รับเงิน 500-1000 บาท/เดือน นานสูงสุด 15 ปี
- กรณี เสียชีวิต ยึด ตาม ตาราง ด้านบน ขึ้นอยู่กับ อัตราการ จ่ายเงินสมทบ
- กรณี ชราภาพ รับเงินบำนาญ เมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ (ต้อง จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 420 เดือน หรือ 35 ปี (ต้องเริ่มส่งก่อน อายุ 25 และส่งต่อเนื่อง ) ถ้าเข้าเกณฑ์ ก็รับ 600 บาท/เดือน
ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ จ่ายน้อยประโยชน์ เพียบ ใหม่ ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ จ่ายน้อยประโยชน์ เพียบ
รับ อายุ 15-60 ปี
เลือกส่งเบี้ยประกันสังคมได้ 3 ระดับ 70 /100 /300 บาท ความคุ้มครองแตกต่างกัน อ่านเพิ่มได้ที่
เพิ่มผลประโยชน์ เงินทดแทน ประกันสังคม มาตรา 40
อาชีพเสริม มนุษย์เงินเดือน
- Details
- Hits: 10086