จ่าย เงินสงเคราะห์ ให้ลูกจ้าง 100 เท่า กรณี นายจ้างปิดกิจการเนื่องจาก โควิด

จ่ายเงิน สงเคราะห์ ให้ลูกจ้าง 100 เท่า กรณี นายจ้างปิดกิจการเนื่องจาก โควิด

กระทรวงแรงงานออกระเบียบเพิ่มเติม เกียวกับ อัตราและเวลาการจ่าย เงินสงเคราะห์ ให้แก่ลูกจ้าง ที่นายจ้างปิดกิจการ อันเนื่องมาจากผลกระทบของการระบาดของ โรค โควิด-19 โดยให้มีการจ่ายเงินสงเคราะห์ 100 เท่า มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ 1 มี.ค. 2563 – 28 ก.พ. 2565

 

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงปัญหาการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้างโดยไม่ถูกต้อง รวมถึงมีการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด จากสถานประกอบกิจการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

กระทรวงแรงงาน จึงได้ หามาตรการช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างกลุ่มนี้ให้ได้รับเงินสงเคราะห์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในอัตราที่เหมาะสม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เพราะอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานประกอบกิจการในวงกว้าง

คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนำมาพิจารณา ซึ่งได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่าย และระยะเวลาการจ่ายกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ.2564 โดยปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ ดังนี้

 

1. กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ให้ปรับเงินสงเคราะห์จากอัตราเดิม

 

1.1) สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 3 ปี ปรับจากได้รับเงิน 30 เท่า เป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

1.2) สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ปรับจากได้รับเงิน 50 เท่า เป็น 80 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

และ 1.3) สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ปรับจากได้รับเงิน 70 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

 

2. กรณีเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ให้ปรับ เงินสงเคราะห์ จากอัตราเดิม คือ “60 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ”

 

 

 

สามารถขอรับ เงินสงเคราะห์ เพิ่มเติม ย้อนหลังได้ที่ไหน

 

“ระเบียบนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกจ้างที่เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฯ จากสาเหตุนายจ้างประสบปัญหาทางการเงินเพราะสาเหตุการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

สามารถขอรับเงินสงเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-10 ได้แล้ว”

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่ายกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ.2564 เป็นระเบียบที่กำหนดเป็นการเฉพาะกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

“ลูกจ้างที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นต้น เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป สามารถมายื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์เพิ่มเติมได้ ในเบื้องต้นได้กำหนดกรอบระยะเวลาไว้ระหว่าง 1 มีนาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2565”

 

หากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอาจพิจารณาขยายระยะเวลาของการบังคับใช้ระเบียบนี้ต่อไป

 

เครดิที่มา มติชน 

 

 

ป่วยโควิด เบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม มาตรา 40 สูงสุด 300 บาท/วัน

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ตกงาน หรือเปลียนงาน ยื่นใช้ “สิทธิบุตรคนเดิม”

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา