เรียนออนไลน์ ฟรี 8 หลักสูตร การค้าออนไลน์ ระหว่างประเทศ

เรียนออนไลน์ ฟรี หลักสูตรการค้าออนไลน์ ระหว่างประเทศ

เรียนออนไลน์ เรียนที่ไหนก็ได้ เรียน ระหว่าง ช่วงเวลา WFH : Work from HOme ใช้เวลาให้เป็นประโชน์ ในขณะที่อยู่ที่กักตัวอยู่กับ บ้าน ด้วย การ เสริมศักย์ภาพ ตัวเอง เพิ่มเติม ด้วยความรู้ฟรี เกียวกับ การค้าออนไลน์ ระหว่างประเทศ   เรียน ออนไลน์ ไปกับ กรม การค้าระหว่างประเทศ

 

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้บริการข้อมูลการค้าระหว่างประเทศออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและรองรับ

มาตรการ Work from Home โดยให้บริการข้อมูลต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ www.dtn.go.th เช่น สถิติการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้า-ส่งออกของไทย อัตราภาษีศุลกากรของไทยและประเทศคู่ค้า FTA ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และความตกลง FTA ฉบับต่างๆ เป็นต้น

 

พร้อมเพย์ ไทย โอนเงิน ไปสิงคโปร์ ภายใน 1 นาที 


 

เรียนออนไลน์ ผ่าน 8 หลักสูตรการค้าออนไลน์ ระหว่างประเทศ

 กรมฯ ยังมีหลักสูตรฝึกอบรมด้านการค้าระหว่างประเทศออนไลน์ รวม 8 หลักสูตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่

1.เรียนออนไลน์ เกี่ยวกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) - ระดับต้น

เป็นการเรียนแบบออนไลน์ ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. การทบทวนเหตุผล ความสำคัญ และสาระสำคัญของความตกลง AEC ตามกรอบพิมพ์เขียวสำหรับการขับเคลื่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)

2. การวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบจากการทำความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3. การทำความเข้าใจหลักการ แนวคิดและแนวทางในการเตรียมความพร้อมและมาตรการรองรับสำหรับการทำความตกลง AEC

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นการวิเคราะห์ประเด็นทางการค้าที่ลึกซึ้ง (Deeper) มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) และมีรายละเอียด (Details) มากขึ้น โดยการนำเสนอจะประกอบด้วย (1) การนำเสนอข้อเท็จจริง (Facts) ของประเด็นข้อผูกพัน (มาตรการทางการค้าที่สำคัญทั้งมาตรการภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี) (2) การวิเคราะห์โดยหลักวิชาการตามกรอบข้อผูกพันของ AEC ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง และ (3) การนำเสนอข้อควรปฏิบัติในการปรับตัว และรองรับการทำความตกลงในกรอบ AEC (What needs to be done?) ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.ประเด็นทางการค้าด้านการค้าสินค้า (Trade in goods)

2.ประเด็นทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการลุงทุน (Trade-related investment)

3.ประเด็นทางการค้าด้านการค้าบริการ (Trade in services)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นประเด็นท้าทายเศรษฐกิจภายใต้กรอบความตกลง AEC (AEC and beyond) มีลักษณะเป็นประเด็นที่มีความก้าวหน้า และเป็นพรมแดนทางธุรกิจ (Business frontier issues) โดยจะเป็นการวิเคราะห์ในมิติของการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นการวิเคราะห์ในเชิงพลวัต

1.AEC กับโครงข่ายการผลิตของอาเซียน (AEC and ASEAN Production Network)

2.AEC กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (AEC and Competiveness Improvement)

3.AEC กับการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ (AEC and Capital Movement)

 

2.เรียนออนไลน์ ฟรี เรื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร

 

การเปิดเสรีภาคสินค้าเกษตร - ระดับต้น

การเรียนออนไลน์ที่ ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.การทบทวนสาระสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลการลดภาษีของการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าเกษตร ภายใต้กรอบ WTO AEC และ FTA ที่ไทยทำร่วมเป็นภาคี

2.การวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบของการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าเกษตร

3.การทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด และแนวทางในการเตรียมความพร้อม และการปรับตัวเพื่อรองรับการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าเกษตร

การเปิดเสรีภาคสินค้าเกษตร - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นการวิเคราะห์ประเด็นทางการค้าที่ลึกซึ้ง (Deeper) มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) และมีรายละเอียด (Details) มากขึ้น โดยการนำเสนอจะประกอบด้วย (1) การนำเสนอข้อเท็จจริง (Facts) ของประเด็นข้อผูกพันด้านสินค้าเกษตร (มาตรการทางการค้าที่สำคัญทั้งมาตรการภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี) (2) การวิเคราะห์โดยหลักวิชาการตามข้อผูกพันในกรอบความตกลงต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง และ (3) การนำเสนอข้อควรปฏิบัติในการปรับตัว และรองรับการเปิดเสรีด้านสินค้าเกษตร (What needs to be done?) แบ่งเป็น

1.การเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรพืชไร่ พืชสวน

2.การเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรปศุสัตว์

3.การเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรแปรรูป

การเปิดเสรีภาคสินค้าเกษตร - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นประเด็นท้าทายทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าเกษตร โดยจะเป็นการวิเคราะห์ในมิติของการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นการวิเคราะห์ในเชิงพลวัต (Dynamics) ประกอบด้วย

1.มาตรการภายในประเทศ (Domestic Measures) ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร

1.1 มาตรการอุดหนุน (Subsidies)

1.2 มาตรการสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

2.การพัฒนาไปสู่เป้าหมายทางด้านสินค้าเกษตรที่ตั้งไว้

 

3.เรื่องออนไลน์ เรื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้าอุตสาหกรรม

การเปิดเสรีภาคสินค้าอุตสาหกรรม - ระดับต้น

การเรียนออนไลน์ที่ ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. การทบทวนสาระสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดข้อมูลการลดภาษีของการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบ WTO AEC และ FTA ที่ไทยทำร่วมเป็นภาคี

2. การวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบของการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าอุตสาหกรรม

3. การทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด และแนวทางในการเตรียมความพร้อม และการปรับตัวเพื่อรองรับการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าอุตสาหกรรม

การเปิดเสรีภาคสินค้าอุตสาหกรรม - ระดับต้น

 

การเปิดเสรีภาคสินค้าอุตสาหกรรม - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นการวิเคราะห์ประเด็นทางการค้าที่ลึกซึ้ง (Deeper) มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) และมีรายละเอียด (Details) มากขึ้น โดยการนำเสนอจะประกอบด้วย (1) การนำเสนอข้อเท็จจริง (Facts) ของประเด็นข้อผูกพันด้านสินค้าอุตสาหกรรม (มาตรการทางการค้าที่สำคัญทั้งมาตรการภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี) (2) การวิเคราะห์โดยหลักวิชาการตามข้อผูกพันในกรอบความตกลงต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง และ (3) การนำเสนอข้อควรปฏิบัติในการปรับตัว และรองรับการเปิดเสรีด้านสินค้าอุตสาหกรรม (What needs to be done?) แบ่งเป็น

1.มาตรการภาษี โครงสร้าง และการคุ้มครองอุตสาหกรรม

2.มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี - Technical Barrier to Trade (TBT)

3.กฎว่าด้วยถิ่นกำหนดสินค้า (Rule of Origin: RoO) การทุ่มตลาด (Dumping) และการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping)

 

การเปิดเสรีภาคสินค้าอุตสาหกรรม - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นประเด็นท้าทายทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคสินค้าอุตสาหกรรม โดยจะเป็นการวิเคราะห์ในมิติของการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นการวิเคราะห์ในเชิงพลวัต (Dynamics) ประกอบด้วย

1.การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม

2.การรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Clustering) และโลจิสติกส์ (Logistic)

3.ระบบห่วงลูกโซ่มูลค่า (Global Value Chain : GVC)

 

4.เรียนออนไลน์ เรื่อง การเปิดเสรีบริการ

การเปิดเสรีภาคการค้าบริการ - ระดับต้น

ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.การทบทวนสาระสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดการยกเลิกข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการการผูกพันการเปิดการค้าบริการของการทำความตกลงเปิดเสรีภาคบริการ ภายใต้กรอบ WTO AEC และ FTA ที่ไทยทำร่วมเป็นภาคี

2.การวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบของการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคบริการ

3.การทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด และแนวทางในการเตรียมความพร้อม และการปรับตัวเพื่อรองรับการทำความตกลงเปิดเสรีการค้าภาคบริการ

 

การเปิดเสรีภาคการค้าบริการ - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นการวิเคราะห์ประเด็นทางการค้าที่ลึกซึ้ง (Deeper) มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) และมีรายละเอียด (Details) มากขึ้น โดยการนำเสนอจะประกอบด้วย (1) การนำเสนอข้อเท็จจริง (Facts) ของประเด็นข้อผูกพันด้านการค้าบริการ (ข้อผูกพันทั่วไป และข้อผูกพันเฉพาะ) (2) การวิเคราะห์โดยหลักวิชาการตามข้อผูกพันในกรอบความตกลงต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง และ (3) การนำเสนอข้อควรปฏิบัติในการปรับตัว และรองรับการเปิดเสรีการค้าภาคบริการ (What needs to be done?) แบ่งเป็น

1.การเปิดเสรีภาคบริการการท่องเที่ยว

2.การเปิดเสรีภาคบริการการเงิน

3.การเปิดเสรีภาคบริการโทรคมนาคม

 

การเปิดเสรีภาคการค้าบริการ - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นประเด็นท้าทายทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคบริการ โดยจะเป็นการวิเคราะห์ในมิติของการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นการวิเคราะห์ในเชิงพลวัต (Dynamics) ประกอบด้วย

1.การเปิดเสรีภาคบริการ การผูกขาด และการป้องกันผูกขาด

2.การเปิดเสรีภาคบริการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)

3.การกำกับดูแลธุรกิจภาคบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

5.เรียนออนไลน์ เรื่อง องค์การการค้าโลกกับการค้าระหว่างประเทศ

      

องค์การการค้าโลกกับการค้าระหว่างประเทศ - ระดับต้น

ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร

2.กฎกติกาสำหรับการค้าระหว่างประเทศของ WTO ที่สมาชิกจะต้องปฏิบัติตาม

3.การค้าระหว่างประเทศที่ขัดต่อกฎกติกาจะเป็นอย่างไร

 

องค์การการค้าโลกกับการค้าระหว่างประเทศ - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.องค์การการค้าโลก (World Trade Agreement: WTO) คืออะไร

2.ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade: GATT 1947)

3.ภาษีศุลกากร (Tariffs) 

4.การเข้าถึงตลาด (Market Access)

5.อุปสรรคที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Barriers)

 

องค์การการค้าโลกกับการค้าระหว่างประเทศ - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 6 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.การทำ FTA ตามกฎเกณฑ์ข้อ 24 (XXIV) ของความตกลง GATT ของ WTO

2.ข้อยกเว้นทั่วไป (General Exception)

3.หลักการของกลไกระงับข้อพิพาทภายใต้ WTO

4.การเข้าสู่กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO

5.ขั้นตอน/กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO

6.ผลของการระงับข้อพิพาทภายใต้ WTO 

 

6. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า - ระดับ

ครอบคลุมเนื้อหาใน 8 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.นิยามของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

2.ประโยชน์ของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าในการค้าระหว่างประเทศ

3.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT)

ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO)

4.เกณฑ์ของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (WO และ ST)

5.หลักการของการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า (Cumulation Rules or Accumulation Rules or Cumulative Rules of Origin)

6.หลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการผ่อนปรน (De Minimis)

7.หลักเกณฑ์การดำเนินการและการแปรสภาพเพียงเล็กน้อย (Minimal Operation)

8.หลักเกณฑ์การส่งมอบแบบตรง (Direct Consignment)

 

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.ประเด็นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศว่าด้วยข้อบทกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ในบริบทสากล 

2.ตัวอย่างการคำนวณการสะสมรูปแบบต่างๆ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้ของไทยในปัจจุบัน

3.รูปแบบของเกณฑ์การพิจารณากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของประเทศไทย 
ตกลงการค้าเสรีแบบพหุภาคี

4.การค้นหาอัตราภาษีศุลกากรและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

     

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 6 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

2.เอกสารหลักฐานในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก

3.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) 

4.การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-certification/Self-declaration)

5.การตรวจสอบเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) 

6.การป้องกันการฉ้อฉลถิ่นกำเนิดสินค้า (Origin Circumvention) 

 

7. เรื่อง สุขอนามัยพืชและสัตว์ 

สุขอนามัยพืชและสัตว์ - ระดับต้น

ครอบคลุมเนื้อหาใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.นิยามของสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS)

2.ความเป็นมาของความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้ SPS

3.สถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของความตกลง SPS

4.มาตรการที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย

5.กระบวนการแจ้งเตือนมาตรการ SPS ของไทยและต่างประเทศ

 

สุขอนามัยพืชและสัตว์ - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความตกลงบังคับใช้ตามมาตรการ SPS

2.หลักการและภาพรวมการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

3.กลไกระงับข้อพิพาทและตัวอย่างกรณีพิพาท

4.ประเด็นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศว่าด้วย SPS ในบริบทสากล

 

สุขอนามัยพืชและสัตว์ - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.กรอบยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ SPS ของไทย

2.รูปแบบของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของประเทศไทย

3.แนวโน้มความตกลงและการเตรียมพร้อมของไทยในการเจรจา SPS ในอนาคต

 

8. เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า

 

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า - ระดับต้น

ครอบคลุมเนื้อหาใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.นิยามทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย

2.หน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

3.ความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ  

4.พันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ 

5.การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรณีศึกษา และบทลงโทษทางกฎหมาย 

 

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า - ระดับกลาง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.สาระสำคัญของความตกลง TRIPS

2.ขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในไทย

 

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า - ระดับสูง

ครอบคลุมเนื้อหาใน 1 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.ข้อบทด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การเจรจาการค้าเสรี

 

 

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ ขั้นตอนการขอ ใบอนุญาติ ขับขีรถ ระหว่างประเทศ


ผู้ประกอบการและผู้สนใจสามารถเรียนออนไลน์ แบบ เรียน ตรงกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางเว็บไซต์ elearning.dtn.go.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยระบบการเรียนการสอนออนไลน์สามารถใช้กับสมาร์ทโฟน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนได้ และกรมฯ ยังได้อัปโหลดการจัดสัมมนาของกรมฯ ในช่วงที่ผ่านมา ขึ้นในเว็บไซต์กรมฯ www.dtn.go.th และเพจเฟซบุ๊ก “กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ” ด้วย เช่น “เข้าใจ Brexit พลิกสัมพันธ์การค้ากับยุโรป” เป็นต้น” นางอรมนกล่าว

 

 

 

ผู้สนใจสามารถเรียนผ่านเว็บไซต์ elearning.dtn.go.th โดยแต่ละหลักสูตรแบ่งการเรียนการสอน 3 ระดับ เมื่อสอบผ่านในแต่ละระดับ ระบบจะออกใบรับรองหรือประกาศนียบัตรให้ด้วย