10 คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี!! มีใบประกาศ ส่งตรงจากมหาวิทยาลัยมหิดล!

“เมื่อการเรียนรู้..ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน” 10 คอร์สเรียนออนไลน์ ฟรี!! มีใบประกาศ ส่งตรงจากมหาวิทยาลัยมหิดล!! มีหลากหลายวิชาให้เลือกเรียน สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
10 คอร์สเรียนออนไลน์ ฟรี!! มีใบประกาศ ส่งตรงจากมหาวิทยาลัยมหิดล!
หากสนใจ…กดลงทะเบียนเรียนได้เลย!!
1. การสร้างแบรนด์ขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Branding)
หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างตราสินค้า หลักสูตรนี้จะแนะนำแนวคิดหลักในการสร้างตราสินค้ารวมถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ภาพลักษณ์ของแบรนด์และบุคลิกภาพของตราสินค้า นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวิธีที่แนวคิด STP (การแบ่งกลุ่มการกำหนดเป้าหมายและการกำหนดตำแหน่ง) เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์เชิงกลยุทธ์เพื่อให้แน่ใจว่าแบรนด์อยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย
นอกจากนี้หลักสูตรนี้ยังนำเสนอกรอบการสร้างแบรนด์ของ de Chernatony ซึ่งเน้นถึงขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาแบรนด์จากมุมมองเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากหลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์เนื้อหาจึงได้รับการจัดโครงสร้างในรูปแบบที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละแนวคิดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
2. เทคนิคการเป็นวิทยากร (Train the Trainer)
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การสร้างทัศนคติและวิธีคิดในการเป็นวิทยากร ปฐมบทการเป็นวิทยากร การวางแผนอาชีพวิทยากร มนุษยสัมพันธ์และการสมาคมสำหรับวิทยากร การพัฒนาบุคลิกภาพของวิทยากร หลักการพูดในชุมชน ทักษะการพูดของวิทยากร เทคนิคการนำเสนอ จิตวิทยาการเรียนรู้ในการอบรม เทคนิคการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การสร้างและพัฒนาหลักสูตรอบรม การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เทคนิคการสอน สื่อและเครื่องมือสำหรับการอบรม และการวัดประเมินผลติดตามสำหรับการอบรม
3. การออกแบบการเรียนการสอนสำหรับบทเรียนออนไลน์ (Instructional Design for Online Learning)
ปัจจุบันการเรียนการสอนออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมในวงการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน กลุ่มผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล และเพื่อให้ได้บทเรียนออนไลน์ที่มีคุณภาพนั้นควรเริ่มต้นจากการที่ผู้สอนมีการวางแผนออกแบบการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ สามารถที่จะวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน กิจกรรมการเรียนต่างๆ รวมถึงการวัดและประเมินผลได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับชีวิตประจำวัน (IT for Daily Life)
รายวิชานี้จะแนะนำความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเข้าใจพื้นฐานของอุปกรณ์ต่างๆ
การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในฮาร์ดแวร์และซอฟ์ตแวร์
การสื่อสารรูปแบบต่างๆ และภัยอันตรายที่เกิดขึ้นในรูปแทบดิจิตอล และการคุกคาม พร้อมกล่าวถึงกฎหมาย และวิธีป้องกันตัวในโลกดิจิทอล-
5. กิจกรรมบำบัดสร้างความสุข (Psychosocial Occupational Therapy)
กิจกรรมบำบัดสร้างความสุข พัฒนาจากรายวิชากิจกรรมบำบัดจิตสังคม มีเป้าหมายให้ประชาชนไทยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเองและช่วยเหลือคนที่คุณรักซึ่งเป็นผู้กำลังมีประสบการณ์สุขภาพจิต ที่มีความสนใจในการเรียนรู้กระบวนการฟื้นสุขภาวะหลังมีอาการป่วยทางจิตในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ และแนวทางการสื่อสารด้วยเทคนิคการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ สังคมและพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันโรคทางจิตตามบริบทของชุมชน
6. ผู้ประกอบการและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผู้สูงวัย (Entrepreneurship and Innovation for Aging Business)
วิชานี้เป็นการให้ความรู้พื้นฐานในการออกแบบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ การสร้างนวัตรกรรมและการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจกลุ่ม Aging Business (อาทิ ธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอาหารสุขภาพ ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ฯลฯ) ซึ่งธุรกิจการบริการในกลุ่มผู้สูงวัย Aging Society นั้นมีลักษณะเฉพาะ และมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจแนวทางการพัฒนาธุรกิจและการสร้างคุณค่าตลอดโซ่อุปทาน (Value Creation) โดยวิชานี้จะครอบคลุมเนื้อหา แนวคิด หลักการและองค์ประกอบของการออกแบบธุรกิจ (Business Model Design) การออกแบบนวัตรกรรมและการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Innovation and Strategic Management) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของธุรกิจกลุ่ม Aging Society การวางแผนกลยุทธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ นอกจากนี้ เนื้อหาวิชานี้ยังรวมถึง การวิเคราะห์โซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) และวิเคราะห์แบบ Strategic Foresight เพื่อนำไปพัฒนาแบบจำลองธุรกิจรูปแบบใหม่ (Business Model Re-design) ที่เหมาะกับสภาพธุรกิจกลุ่ม Aging Society ในอนาคต โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันจากผู้ประกอบการจริง (Learning together with entrepreneurs) เพื่อให้สามารถนำความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
คอร์สเรียน ออนไลน์ ฟรี จากหลากหลายสถาบัน
ฟรี คอร์สออนไลน์ ภาษาอังกฤษ Grammar and Writing โดย มหาวิทยาลัย จุฬา
23 รายวิชา ลงทะเบียน เรียนออนไลน์ เรียนฟรี โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10 ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ฟรี
7. การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา
ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) ปรัชญาและการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา ความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบดั้งเดิมกับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาตร์แบบสะเต็มศึกษา ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา การประยุกต์ปัญหาด้านคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) สำหรับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา
8. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Introduction to Data Analytics)
Data Analytics คือศาสตร์แห่งการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ในที่ต่างๆ และในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากวิเคราะห์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เข่น การวิเคราะห์หาพฤติกรรมของผู้บริโภคจากข้อมูลการซึ้อสินค้า การวิเคราะห์ผลประกอบการทางการตลาด การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของโรคจากข้อมูลทางการแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบันข้อมูลนั้นมีอยู่มหาศาล Data Analyitcs จึงนำว่าเป็นศาสตร์ที่มีความจำเป็นอย่างมากในทุกองค์กร ในรายวิชานี้ จะมีการบรรยายถึงหลักการพื้นฐานของการทำ Data Analytics เช่นการจัดการข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ (Data Cleaning) การทำความเข้าใจข้อมูล (Data Exploring) การวิเคราะห์ประมวลผล (Data Processing) และการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) ผ่านการสาธิตการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เช่น Microsoft Excel และ Power BI
9. หลักการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารราชการ
หลักการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารราชการเป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับการทํางานวิจัยเพื่อการค้นหา การตรวจสอบ การประเมิน เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยนั้นไปพัฒนาต่อยอดระบบการทำงาน กระบวนการ การวางกลยุทธ์หรือนโยบายต่าง ๆ โดยพื้นฐานที่สำคัญของการวิจัย นักศึกษาจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมาย ความสําคัญ หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติได้อย่างมีจรรยาบรรณ
รายวิชาดังกล่าว สามารถนับเป็นหน่วยกิตการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (เฉพาะชั่วโมงเรียน 15 ชั่วโมง) ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต หมวดวิชาเลือกบังคับ (คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
10. การฟังและการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ (Listening and Speaking for Communication)
การฝึกฝนทักษะการฟังและการพูดในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน การอภิปราย วัจนกรรม การตีความและวิเคราะห์ข้อความจากการสนทนา การบรรยายและการอ่านข้อความทางวิชาการ ข่าวสาร รายงานข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
- Details
- Hits: 5141