Supply Chain Analytics Foundations รากฐานการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน

Supply Chain Analytics Foundations รากฐานการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน

Supply Chain Analytics คือ เครื่องมือทางสถิติ และ เป็นวิธีการขององค์กรณ์ ภาคธุรกิจใช้เพื่อพัฒนา Supply Chain  และในขณะเดียวกัน องค์กรณ์ ต่างๆ กำลังมีความต้องการ ผู้ที่มีความชำนาญในการ วิเคราะห์ ห่วงโซ่อุปทาน มากขึ้นเรื่อยๆ

 

Supply Chain คือ

Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน คือขบวนการ นำส่งวัตถุดิบ และสินค้า เพื่อป้อนสู่โรงงาน และ ผู้บริโภค ซึ่ง มีทั้ง อาหาร ยารักษาโรค อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิค และสิ่งต่างๆ มากมาย

แต่ ถ้า การนำส่งสินค้า และ วัตถุดิบ เหล่านั้น เป็นไปอย่างล่าช้า หรือ สินค้าเสียหายระหว่างการ ขนส่ง คงเป็นฝันร้าย ของผู้รับสินค้าปลายทางไม่ว่าจะเป็น โรงงาน หรือ ผู้บริโภค

และแม้ว่า การขนส่งสินค้า จะเป็นไป อย่างราบรื่นทั้ง การจัดส่งถึงที่หมายได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเวลา แต่ บริษัท ผู้ผลิต ยังคงต้องการ วิธีที่มีประสิทธภาพ ในการดำเนินการขนส่ง ให้ประหยัด กำลังคน เวลา เงิน และ ทรัพยากรอื่นๆ

และหากเราพูดถึง Global Supply Chain ยิ่งเพิ่ม ระดับความซับซ้อน ยิ่งขึ้น ไปอีก

Supply Chain Analytics คืออะไร

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน หรือ supply Chain Analytics คือการใช้ข้อมูล ของ ห่วงโซ่อุปทาน นำมาวิเคราะห์ ข้อมูล ด้วยเครื่องมือและ วิธีการ ที่หลากหลาย เพื่อใช้วิเคราะห์ว่า

- ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไร

-  ทำไมมันถึงเกิดขึ้น

- และอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้

ในการที่ เราจะจัดส่งสินค้า ให้เป็นที่พอใจของ ลูกค้า   เราต้อง นำส่งสินค้า ให้ตรงเวลา และ ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ไม่ชำรุดเสียหาย หรือ สูญหาย

แต่ในการที่ จะทำให้นักลงทุน พอใจ  เราต้อง กำลังอัตราความสูญเสีย และใช้ต้นทุนที่ต่ำ ทั้งวัตถุดิบ แรงงาน พลังงานเชื้อเพลิง และ ฯลฯ

แต่ ระหว่างการขนส่งที่ มักจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง

- สินค้า ขาดสต็อก

- การขนส่งล่าช้า

- สินค้า ชำรุดเสียหาย

เป็นต้น

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล และ ข้อสงสัยเช่นว่า

- เราควรจะซื้อสินค้า มาตุนเพิ่มหรือไม่

- หรือเราต้องการ ศูนย์กระจายสินค้า เพิ่มเติมหรือไม่

- เราจำเป็นต้องจ้างพนักงานเพิ่มหรือไม่

- หรือเราต้องจัดหา ซัพพลายเออร์ เจ้าใหม่?

ความชำนาญของ นักวิเคราะห์ ข้อมูล ในการ วิเคราะห์ ปัญหา ของ ห่วงโซ่ อุปทาน จึงมีความจำเป็น ในการรวบรวมข้อมูล จำนวนมากมาวิเคราะห์  เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสีย และ พัฒนา ขีดความสามารถของการขนส่งสินค้า

แต่ไม่ใช่ว่า ข้อมูลที่มีทั้งหมดจะเป็นข้อมูลที่ดี  ดังนั้นแล้ว นักวิเคราะห์ ห่วงโซ่อุปทาน ต้องรู้จักวิธีการ เลือกใช้ข้อมูล การจัดการลำดับความสำคัญ ของปัญหา และความต้องการ ซึ่งทำให้ Supply Chain Analytics ต้องมี Soft Skills ในการทำงานทีหลากหลาย

ประเภทของเครื่องในการวิเคราะห์  Supply Chain Analytic

  1. 1. Descriptive คำอธิบาย    บอกคุณว่า เกิดอะไรขึ้น
  2. 2. Diagnostic การวินิจฉัย จะคอยบอกคุณว่า ทำไม มันถึงเกิดขึ้น 
  3. 3. Predictive การทำนาย เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และ มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ 
  4. 4. Prescriptive Analytics การวิเคราะห์ เชิงกำหนด เป็นการวิเคราะห์ สรุปว่า จากนี้เราต้องดำเนินการอะไรต่อไป ได้บ้าง

ตัวอย่าง การใช้เครื่องมือ Supply Chain Analytics

  1. Descriptive Analytics (What)

  • สินค้า ส่งถึงจุดหมายปลายทาง ล่าช้า เพิ่มขึ้น 10%
  • ลูกค้าคอมเพลน เพิ่มชี้น 17%

2 Diagnostic Analytics (Why)

  • เรามี ออร์เดอร์เพิ่ม ขึ้น 25%
  • รถบรรทุก เสีย 3 คัน
  • มีคนขับรถลาหยุด 1 คน
  1. Predictive การทำนาย (Next)

  • ต้องปรับปรุง การพยากรณ์ ยอดขาย ของทีมงานฝ่ายขาย
  • รถของเราทุกคัน ต้องได้รับการ ซ่อมบำรุง
  1. Prescriptive Analytics การวิเคราะห์ เชิงกำหนด

  • ซื้อรถเพิ่ม
  • ให้ทีม ฝ่ายขายเพิ่มยอดการสั่งซื้อเพื่อรองรับ จำนวนรถที่เพิ่มขึ้น

ในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ บางทีเราสามารถทำได้เองด้วยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผ่าน โปรอแกรม ยอดฮิต อย่าง MS Excel บางบริษัท ที่มีทุนหนา อาจจะใช้ Software ที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะด่านการวิเคราะห์ ข้อมูล Supply Chain เลย

 

เรียนออนไลน์ฟรี Management & Leadership ด้านการจัดการ และ ภาวะผู้นำ

วิธีการจัดองค์การในงาน คลังสินค้า

กิจกรรมต่างๆ ในงาน คลังสินค้า

ไอเดียในการ สร้าง รูปปก Linkedin Cover Photo

 

 

ติดตามข่าวสารการพัฒนา ทักษะ มนุษย์เงินเดือน (UPSKILL มนุษย์เงินเดือน)

 

 

เครดิตที่มาจาก Linkedin Learning

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา