วิธีการจัดองค์การในงาน คลังสินค้า

วิธีการจัดองค์การในงาน คลังสินค้า

วิธีการจัดองค์การในงานคลังสินค้า เป็นหนึ่ง ในเนื่อหาหลักสูตร การบริการจัดการคลังสินค้า ของ ThaiMooc เรียนออนไลน์ได้ฟรี 

 

 เข้าเรียนออนไลน์ฟรี ได้ที่  Thaimooc


หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE)

หน้าที่ของคลังสินค้า ในการควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บอยู่ในคลัง ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการ ทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บเพื่อความคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการจัดเตรียมเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ เช่น รถยก ชั้นหรือหิ้งสำหรับวางสินค้า การควบคุมบรรยากาศ อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม โดยกิจกรรมในการควบคุมสินค้านี้จะเกี่ยวข้องกับการคัดแยกสินค้า การบรรจุ การแบ่งบรรจุ การคัดเลือก การติดป้าย และที่สำคัญและเป็นหัวใจของคลังสินค้า คือ การควบคุมทางด้านเอกสาร ทั้งที่เกี่ยวกับรายงาน (Status) การเคลื่อนไหว การรับและการเบิก-จ่าย ที่เรียกว่า Inventory Report และการควบคุมทางบัญชี หน้าที่ของคลังสินค้าในการส่งมอบจ่ายแจกสินค้า

 

ผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้า


ผู้ดูแลคลังสินค้า เจ้าหน้าที่คลังสินค้า พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ Warehouse Officer Stock Clerk โดยผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า การดูแล การเก็บ และการควบคุมสินค้า อาจร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า การลงบันทึกเกี่ยวกับสินค้าและการจดบันทึกสินค้าคงคลัง

 

สภาพการทำงาน


ปฏิบัติงานในบริเวณสถานที่ทำงาน ทั้งในส่วนสำนักงานทั่วไป และในสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร และเครื่องมือในการยก หรือย้ายของ อาจมีการทำงานที่ต้องยกของโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการยกของหนัก เช่น รถยก รถเข็น อาจต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล เมื่อตรวจรับของ หรือพัสดุที่เป็นสารเคมี หรือมีสารเคมีเจือปน สภาพแวดล้อมที่ทำงานอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของฝุ่นละออง หรือความร้อน

 

ลักษณะของงานที่ทำ


ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลจดบันทึกประเภท และจำนวนสินค้า การรับ การเก็บ การจัดการตรวจสอบสินค้า หรือวัตถุดิบตามระบบการควบคุมสินค้าที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันสินค้า หรือวัตถุดิบเสียหายก่อนจัดส่งถึงมือลูกค้าหรือผู้ใช้ โดยปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้


1. ทำการตรวจรับสินค้า โดยการเปิดหีบห่อตรวจนับ และจดบันทึกว่าเป็นของที่อันตรายในการจัดเก็บหรือไม่ หรือมีความเสียหาย หรือสภาพชำรุดหรือไม่
2. เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขายสินค้า หรือบริษัทขนส่ง หรือบริษัทประกันภัย
3. จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับสินค้าในการจัดวาง และเก็บรักษา
4. จัดทำบัญชีหมวดหมู่ และดัชนีรายการของสินค้า หรือสิ่งของที่จัดเก็บเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และการดูแล
5. ต้องทราบสถานะ และสภาพอุณหภูมิของสินค้า และวัตถุดิบที่จัดเก็บ
6. จัดเก็บสินค้าที่ยังไม่สามารถนำส่งไว้ต่างหาก
7. ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ
8. เคลื่อนย้ายสินค้าเข้า หรือออกโดยได้รับอนุมัติจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่
9. ตรวจตราดูแลทุกส่วน และพื้นที่ของที่จัดเก็บสินค้ารวมทั้งการทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ก่อนและหลังการใช้ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย รวมทั้งทำการบันทึกการตรวจสอบด้วย
10. ทำบันทึกรายงานถึงผู้บริหารคลังสินค้าทุกขั้นตอน เตรียมพร้อมจัดการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
11. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ เช่นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งสินค้า ประกันภัย ชิปผู้แทนจำหน่าย เป็นต้น

 

 

กิจกรรมต่างๆ ในงาน คลังสินค้า

ความสำคัญของ ทักษะ Organizational Skills ที่ช่วยให้คุณได้งานที่ดี

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา