ภาษี คริปโต สรุปประเด็น สรรพากร เก็บภาษีจากกำไร 15%

ภาษี คริปโต สรุปประเด็น สรรพากร เก็บภาษีจากกำไร 15%

สรุป ประเด็นร้อน ภาษี คริปโต สรรพกร เรียกเก็บ จาก Transaction หรือ การขายที่ได้กำไร เท่านั้น ถ้ายขายขาดทุน จะไม่ถูกนำมาคิด คำนวณ โดยมีการเรียกเก็บสูง ถึง 15% และมีการใช้ Data Analytics มาช่วย ในการตรวจสอบ

กำไรแบบไหนบ้างที่ต้องเสียภาษี คริปโต?

 

กำไรจากการขาย คริปโตที่เข้าข่าย เสียภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดาประเภท ที่ 4



1) ถ้าเหรียญที่เราถืออยู่ ให้เงินปันผลหรือมีรายได้จากการนำไปวางไว้ที่ไหนสักแห่ง ก็จะถูกหักภาษี 15% จากกำไรทั้งหมดที่เราได้มา
.
กำไรจากการที่เราขายเหรียญนั้นๆ (หรือส่วนที่เกินทุน) แต่นั่นหมายความว่า เราต้องรู้ต้นทุนและราคาขายของตัวเองด้วย ถึงจะทราบส่วนต่างที่ต้องนำไปเสียภาษี โดยจะคิดกำไรแยกเป็น Transaction ครับ

2) กรณีที่รับผลตอบแทน (ล็อกเหรียญ/Staking) มองเหมือนการได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร ผลตอบแทนต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลด้วยเช่นกัน

 

 

กำไรจากการขาย คริปโตที่เข้าข่าย เสียภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดาประเภท ที่ 8

3) กรณีขุด (Mining) จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8  เหมือนการผลิตสินค้าเพื่อขาย โดยจะเป็นรายได้ ก็ต่อเมื่อมีการขายให้กับทางผู้ซื้อแล้วเท่านั้น
และให้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายตามจริงได้ (ไม่มีสิทธิ์หักเหมา)

และที่สำคัญก็คือ หากผู้จ่ายมีการจ่ายเงินได้ให้ผู้รับเงิน
ก็ต้องหักภาษี 15% ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

ประเภทเงินได้

 

กรมสรรพากรใช้ Data Analytics ตรวจสอบ ภาษี คริปโต  ย้อนหลังได้จริงหรือ?

 

ทั้งนี้กรมสรรพากรระบุว่ามี Big Data และ Data Analytic มาช่วยในการวิเคราะห์ หากผู้เสียภาษีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียภาษีไม่ถูกต้อง ผู้เสียภาษีอาจต้องทำการพิสูจน์ว่าการยื่นแบบเสียภาษี ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ ถ้าต่ำกว่าก็ต้องชำระเพิ่มในส่วนที่ยื่นขาด และยังต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ในส่วนที่ยื่นขาด

และกำลังประสานกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการนำส่งข้อมูลภาษีของผู้ซื้อและผู้ขายให้กับกรมสรรพากร
.
 Data Analytics เป็นระบบที่สรรพากรใช้ตรวจสอบผู้ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายมีความเสี่ยง ที่สะท้อนว่ารายได้อาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนั่นเอง

 

 

 

เงินได้จากเหรียญดิจิตัลแบบไหนต้องจ่าย ภาษี คริปโต

 

เริ่ม จ่ายภาษี กำไรจากการขาย คริปโต ปี 2564

(6 ม.ค. 2565) แนวทางการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือ ภาษีคริปโต โดยผู้มีรายได้จากการเทรดเหรียญจะต้องยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2565 มาดูกันว่าได้กำไรแบบไหนต้องยื่นข้อมูล

กรณีกำไรจากการขาย หรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี หรือฝากเหรียญเพื่อกินดอก ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ฌ) ผู้ขายมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ขณะที่ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ส่วนการจัดเก็บจะคิดแบบ Transaction นับทุก ๆ ธุรกรรมที่มีกำไร ไม่นำส่วนที่ขาดทุนมาหักลบกับกำไร

เมื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้ว จะต้องนำเงินได้จากกำไรดังกล่าวมาคำนวณรวมกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 อีกด้วย

แต่ถ้าได้เหรียญคริปโตมาจากการมีผู้ให้โดยเสน่หา ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเรานำเหรียญนั้นไปขายเมื่อไหร่ถือว่าเข้าเกณฑ์รายได้ มาตรา 40 (4) (ฌ) ต้องคำนวณภาษีด้วย แต่ถ้าเป็นมรดกที่ได้รับมา แม้ว่าขายก็ได้รับการยกเว้นภาษี ต่างกันตรงนี้

 

อ้างอิงจาก 

Facebook Aommoney 

เงินได้จากเหรียญดิจิตัลแบบไหนต้องจ่ายภาษี

https://www.facebook.com/TaxBugnoms/

 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ 

ศัพท์คริปโท หมวด DeFi (Decentralized Finance)

Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล คืออะไร