ธปท ปลดล็อค มาตราการ LTV ยื่นกู้ สินเชื่อบ้าน ได้ สูงสุด 100%

ธปท ปลดล็อค มาตราการ LTV ขอสินเชื่อบ้าน ได้ สูงสุด 100%

ธปท ปลดล็อค มาตราการ LTV ยื่นกู้ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย  ได้ สูงสุด 100% จากเดิม มีการกำหนดเพดานในการขอสินเชื่อบ้าน หรือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้สูงสุด แค่ 70-90% โดยการผ่อนคลายมาตราการ LTV ให้กู้ได้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน ทรัพย์สิน  ในครั้งนี้ สามารถยื่นกู้ได้ถึง สินปี 2565 ก่อนที่จะมีการทบทวนการผ่อนคลายมาตราการ 

 

 

มาตราการ LTV คืออะไร 

“มาตรการ LTV” เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่เป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ เนื่องจากโดยปกติแล้วในการซื้อบ้าน คนส่วนใหญ่มักจะซื้อด้วยเงินกู้และทยอยผ่อนจ่าย แต่ในการกู้เงินซื้อบ้านนั้น ธนาคารอาจไม่ได้ปล่อยเงินกู้ให้เต็ม 100% ของราคาบ้านเสมอไป ผู้ซื้อจึงอาจต้องวาง “เงินดาวน์” (เงินส่วนแรกที่จะต้องจ่ายเวลากู้ซื้อบ้าน) ก่อน ซึ่งมาตรการ LTV นี้เองที่เป็นเป็นมาตรการที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำที่ผู้กู้จะต้องจ่าย) โดยพิจารณาจากราคาบ้านและจำนวนสัญญาที่กู้เป็นหลัก

เหตุผลสำคัญที่ต้องออกมาตรการ LTV ก็เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อบ้านให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่กระตุ้นให้ประชาชนก่อหนี้เกินตัว รวมถึงการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกินควร อันจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเติบโตเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

มาตรการ LTV อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือเกณฑ์ที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกำหนดว่าผู้กู้จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเท่าไรนั่นเอง"

LTV นั้นย่อมาจากคำเต็มว่า loan-to-value ratio หมายถึง อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน ตัวอย่างเช่น หากบ้านราคา 2 ล้านบาท และกำหนดให้ LTV = 90% หมายความว่าเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เพียง 1.8 ล้านบาท (90% x 2 ล้าน) และต้องวางเงินดาวน์อีก 2 แสนบาทสำหรับส่วนที่เหลืออีก 10% ของราคาบ้านนั่นเอง

สำหรับมาตรการ LTV หรือในชื่อที่เป็นทางการว่า “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย” มีหลักการสำคัญคือการกำหนด LTV (อีกนัยหนึ่งคือกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ ตามตัวอย่างข้างต้น) ของการกู้สินเชื่อใหม่และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ให้เข้มขึ้นเพื่อที่จะสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นสำหรับการผ่อนบ้านพร้อมกัน 2 หลังขึ้นไป หรือบ้านมีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้นมาตรการ LTV จึงส่งผลเฉพาะกับคนที่ผ่อนบ้าน 2 หลังพร้อม ๆ กันหรือกู้ซื้อบ้านที่ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น

 

สาเหตุสำคัญ ในการ ออกมาตราการ LTV ของธปท คือ

 กลุ่มผู้ซื้อบ้านในไทยแบ่งเป็น ผู้ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง กับซื้อเพื่อการลงทุน เช่น ปล่อยเช่า หรือเพื่อเก็งกำไร ก่อนที่มาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) จะออกใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ธปท. พบการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อบ้านระหว่างสถาบันการเงิน จนทำให้บางแห่งลดมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลง โดยให้สินเชื่อในวงเงินที่สูงเกินกว่ามูลค่าบ้าน หรือที่เรียกว่า “สินเชื่อเงินทอน” ขณะเดียวกันก็เห็นสัญญาณการเก็งกำไรหรือมีอุปสงค์เทียมจากผู้ซื้อบางกลุ่มที่กู้เงินไปซื้อบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 และหลังที่ 4 พร้อมกัน ขณะที่หลังแรกก็ยังผ่อนไม่หมด ความต้องการซื้อบ้านจำนวนมากเกินจริงนี้ ทำให้เกิดภาวะบ้านแพงโดยเฉพาะคอนโดฯ ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้หลายครอบครัวรู้สึกว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองนั้นเป็นจุดหมายที่ไกลเกินเอื้อมเพราะราคาบ้านขยับหนีรายได้ไปเรื่อยๆ ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับระบบเศรษฐกิจ ฟองสบู่ที่สร้างไว้อาจแตก ราคาที่อยู่อาศัยจะร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวหรือหดตัวทำให้รายได้ปรับลด ผ่อนต่อไม่ไหว ขายทิ้งไปก็ไม่ได้ราคา และสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทุกคนในวงกว้าง


ธปท เริ่ม ผ่อนคลายมาตราการ LTV 

21 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV หรือ วงเงินปล่อยกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาเป็น 100% ถึงสิ้นปี2565 จากปัจจุบันที่เพดาน LTV สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ระดับ 70-90% ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ (รวมถึงการ Refinance และสินเชื่อ Top-Up)

สำหรับ เกณฑ์ LTV เดิมสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ ธปท.มีการปรับปรุงไปในเดือน ม.ค.63 ได้มีการกำหนดเพดาน LTV สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น กลุ่มแรกมูลค่าที่อยู่อาศัยไม่เกิน 10 ล้านบาท กำหนดให้สัญญาที่ 1 มีเพดาน LTV ที่ระดับ 100% เพื่อไม่ให้กระทบคนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหลังแรก

 

ในส่วนของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสัญญาที่ 2 เดิมกำหนดเพดาน LTV ที่ 90% หากผ่อนสัญญาที่ 1 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี และผู้ซื้อที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 3 เป็นต้นไป กำหนดเพดาน LTV ที่ระดับ 70% เพื่อให้มีการออมก่อนกู้ โดยกำหนด LTV limit ที่ต่ำกว่าสำหรับผู้ที่ต้องการมีบ้าน 2 หลังตาม lifestyle ที่เปลี่ยนไป

สำหรับที่อยู่อาศัยราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เดิม ธปท.กำหนดให้สัญญาที่ 1 หรือสัญญาที่ 2 มีเพดาน LTV ที่ 80% และสัญญาที่ 3 เป็นต้นไป กำหนดเพดาน LTV ที่ 70% เพื่อให้ออมมากขึ้นก่อนซื้อที่อยู่อาศัยราคาแพง

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่าเป็นเรื่องที่ดี ช่วยให้ผู้ประกอบการระบายสต็อกง่ายขึ้น และผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพราะส่วนใหญ่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง

 


 ธปท. ชี้แจงกรณี การตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เงินหาย จำนวนมาก

ลูกค้า เอเชียประกันภัยฯ ต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อ คปภ สั่งปิด

สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ กับ ธ.เกียรตินาคินฯ วงเงินสูง ผ่อนสบาย ดอกเบี้ยต่ำ

The View Condominium Suanluang คอนโด สไตล์รีสอร์ท ใจกลางเมือง

 

 

เช่า-ซื้อ บ้านและคอนโด

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา