ภาษีบริษัท หรือ ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้างที่เจ้าของกิจการต้องรู้

ภาษีบริษัท หรือ ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้างที่เจ้าของกิจการต้องรู้

 

 

ภาษีบริษัท

โดยปกติธุรกิจที่เริ่มมีการจัดตั้งเป็นบริษัท จะมีทั้งแบบที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่ส่วนใหญ่สำหรับธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดา เมื่อดำเนินกิจการมาถึงจุดที่มีรายได้สูง การจัดการเรื่องรายรับรายจ่าย การ ทำบัญชี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะถ้าหากใครที่ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือพูดง่ายๆ ก็คือจ่ายภาษีแบบบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการเหล่านี้

เลือกวิธีการหักค่าใช่จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อเสียภาษีอยู่ 2 แบบ คือ

1) หักแบบเหมา และ

2) หักตามจริง

และถ้าหากเจ้าของธุรกิจเลือกหักค่าใช่จ่ายแบบตามจริง ต้องยอมรับก่อนว่าจะต้องมีความละเอียดเป็นอย่างมาก ทั้งเอกสาร บิล ใบเสร็จต่างๆ เก็บไว้ให้ครบทุกใบ และทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อแสดงต่อสรรพากรในการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงด้วย

"ภาษีบริษัท" ที่เจ้าของกิจการต้องรู้และควรทำความเข้าใจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา


✅ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
✅ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
✅ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
✅ ภาษีธุรกิจเฉพาะ
✅ อากรแสตมป์

 

✅ ภาษีเงินได้นิติบุคคล



.
ภาษีสำหรับคนทำธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัทฯ หรือ ห้างหุ้นส่วน และมีรายได้จากการประกอบธุรกิจ คิดเป็นภาษีบริษัทที่คำนวณจากกำไรสุทธิที่บริษัทนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากเข้าเกณฑ์กำหนด
.
ซึ่งต้องแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคลมีสองแบบ
.
◆ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี
◆ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี
.
คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ
แล้วนำกำไรสุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
.
◆ กำไร 300,000 บาทแรก = ยกเว้นภาษี
◆ กำไร 300,001 – 3 ล้าน = ภาษี 15%
◆ กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป = ภาษี 20%

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี ภ.ง.ด. 51

 

✅ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

.

ภาษีที่มาจากมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า อัตราคงที่อยู่ที่ 7% ซึ่งถ้ากิจการมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน
.
โดยผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าและบริการ และต้องออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บ
.
ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี
.

✅ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย


.
ภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด โดยคนที่หักภาษี ต้องนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีที่หักบุคคลธรรมดา และ ภ.ง.ด. 53 กรณีที่หักนิติบุคคล ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

 

✅ ภาษีธุรกิจเฉพาะ

 


.
ภาษีที่จัดเก็บสำหรับการประกอบกิจการเฉพาะในบางธุรกิจ


◆ ธนาคารพาณิชย์
◆ ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์
◆ โรงรับจำนำ
◆ การรับประกันชีวิต
◆ การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราหรือขายตั๋วเงิน
◆ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
.
โดยกิจการต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือนถัดไปที่เกิดรายการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และในกรณีทั่วไปของธุรกิจ เมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีในอัตรา 3.3% (รวมอัตราภาษีท้องถิ่น)

 

✅ อากรแสตมป์

 

.
ภาษีบริษัทที่จัดเก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ ค้ำประกัน จำนำ เป็นต้น
.
ในกรณีที่ตราสารนั้นจำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนมาก เช่น ราคาหลักพันบาท ผู้ประกอบการที่เป็นผู้เสียภาษีสามารถใช้วิธีเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินแทนได้ โดยให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาใกล้บ้าน พร้อมยื่นแบบคำขอ อ.ส.4 เพื่อชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
.

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา